วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หมูแคระ


       สิ่งที่ดีที่สุดก่อนที่จะทำการเลี้ยงตัวอะไรก็ตาม นั่นคือค้นหาความรู้ข้องมูลเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนั้นก่อน ซึ่งสมัยนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร เข้าอินเตอร์เนทค้นหาด้วยเซิร์จเอนจิ้นดีๆอย่างกูเกิ้ล(Google) ก็สามารถหาอ่านความรู้ต่างๆในโลกนี้ได้สารพัดไปหมด ข้อมูลที่ดีและน่าเชื่อถือได้ก็มีมากมายในวิกิพีเดีย(Wikipedia)นั่นเอง แม้ว่าผู้เขียนจะภาษาอังกฤษไม่แตกฉานมากมายนักแต่ก็ขออนุญาตแปลและสรุปเรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อทำความรู้จักกับสัตว์เลี้ยงชนิดนี้สักเล็กน้อย แต่จะขอสรุปเพื่อให้บทความไม่ยาวเกินไป ท่านใดสนใจอยากอ่านฉบับเต็มก็เข้าไปหาอ่านในวิกิพีเดียได้เลย



      ในปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) หมูพันธุ์ที่มีขนาดโตเต็มวัยราวๆ 60 กก. (ขนาดประมาณหมูกระโดนหรือหมูกี้ตัวดำๆน้อยๆบ้านเรานั่นแล) หมูเหล่านี้ถูกส่งไปเพื่อใช้ทดลองยาและทดสอบการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ด้วยเหตุผลที่ว่าเจ้าพวกนี้ตัวเล็กกว่าหมูฟาร์มที่พัฒนาไว้ขุนขายเนื้อเพราะหมูขุนเมื่อโตเต็มที่จะหนักหลายร้อยกิโลกรัม ซึ่งไม่สะดวกกับการเป็นสัตว์ทดลอง หมูพ๊อตเบลลี่(Potbellied pigs)จากเวียดนามก็เป็นหมูอีกชนิดที่ถูกนำไปใช้ในการทดลอง และด้วยขนาดและสีสันที่ดึงดูดใจ หมูพันธุ์พ๊อตเบลลี่จึงถูกซื้อไปเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดใหม่



      ในปี ค.ศ.1990-2000 (พ.ศ.2533-2543) ความต้องการของตลาดหมูสัตว์เลี้ยงเริ่มต้องการหมูที่เล็กกว่าหมูพ๊อตเบลลี่เดิม เพื่อให้เหมาะกับการเลี้ยงในบ้านและอพาร์มเม้นท์ ขณะเดียวกันก็มีคนขายหมูที่บอกว่าตัวเล็กมากกว่าเดิม แต่ถูกกลุ่มพิทักษ์สัตว์ต่างๆและนักปรับปรุงพันธุ์หมูต่อต้านหมูที่ไม่ได้เล็กจิ๋วจริงๆอย่างที่กล่าวอ้าง(อาจจะถูกงดอาหารจนแคระแกรน)


     กลางปี ค.ศ.1980 (พ.ศ.2523) นายKeith Cornell จากสวนสัตว์ในออนตาริโอ ได้สั่งนำเข้าหมูพ๊อตเบลลี่ 20 ตัวเข้าไปยังแคนาดา ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นตระกูลหมูพ๊อตเบลลี่แถบในอเมริกาเหนือเลยทีเดียว โดยข้อบังคับทางกฏหมายแล้วเฉพาะลูกหมูที่เพาะออกมาถึงจะถูกนำเข้าไปขายในอเมริกาได้ ทีแรกตั้งเป้าหมายไว้เพื่อขายสวนสัตว์แต่กลับกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดสัตว์เลี้ยง และมียอดนำเข้าเพิ่มตลอด10ปี มีแม้กระทั่งการจดทะเบียนพันธุ์ประวัติ(Pedigrees)กันด้วย


        ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ.2535) Chris Murray จากเมืองเดวอน(Devon) ใช้เวลาถึง 9ปีเต็มในฟาร์มเพนีเวลล์ (Penny well Farm) เพื่อพัฒนาหมูพ๊อตเบลลี่เวียดนามกับหมูจากนิวซีแลนด์และหมูอื่นๆที่มีลวดลายและจุดอีกหลายสายพันธุ์ จนได้หมูขนาดเล็กที่มีลวดลายน่ารักและเหมาะที่จะเลี้ยงไว้ภายในบ้าน (เลี้ยงข้างในบ้านเลยนะครับ เพราะว่าเมืองนอกอากาศหนาว) หลังจากนั้นก็พัฒนามาอีก24รุ่นของหมูจนได้หมูที่เรียกว่า “Teacup” และเปิดตัวจำหน่ายในปี ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) ด้วยความน่ารักและความฉลาดของหมูเหล่านี้สนนราคาของหมูจิ๋วทีคัพแต่ละตัวมากกว่า 1000 us$ (มากกว่าสามหมื่นบาท) และราคานี้ยังไม่รวมค่าขนส่งค่าดำเนินการต่างๆด้วยซ้ำไป แต่อย่างไรก็ตามหมูจิ๋วรุ่นทีคัพเล็กพิเศษนี้แม้จะมีการจดใบพันธุ์ประวัติแต่ก็อาจจะมีตัวที่หลุดกลับมาเป็นหมูโต350ปอนด์(160กก.)ได้ (ผู้เขียนคิดว่า น่าจะเป็นเพราะต้นตระกูลหมูนอกที่คุณคริสนำมาผสมเพื่อเอาสีสันและลายจุดเมื่อตอนเริ่มต้นนั้นเป็นหมูขนาดใหญ่นั่นเอง)













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น